18 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.มหาสารคาม ใช้หมอลำกลอน สื่อสารปรับเปลี่ยนชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19

ม.มหาสารคาม ใช้หมอลำกลอน สื่อสารปรับเปลี่ยนชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

 

 

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บันทึกเทปหมอลํากลอนและ หนังประโมทัย เป็นสื่อพื้นบ้านอีสาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ซึ่งในเทปแรกนี้เป็นการบันทึกเทปหมอลํากลอน ณ ห้องประชุมชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

 



อาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กล่าวว่า  ในวันนี้ได้ทำการบันทึกเทปหมอลํากลอน เพื่อผลิตสื่อพื้นบ้าน วีดิทัศน์ “หมอลํากลอน” นำโดย หมอลำไพบูลย์  เสียงทอง  และกลุ่มผู้สูงอายุจากชมรมผู้สูงอายุตักสิลานคร  และบุคลากรของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมในกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปรับตัวเพื่อ เผชิญกับภาวะวิกฤตโควิด-19 และเผยแพร่สื่อพื้นบ้าน วีดิทัศน์ “หมอลํากลอน” ผ่านช่อง ทางการสื่อสารออนไลน์ (website, Facebook, Webpage,youtube ,Twitter, Instagram, Line) ของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคามและเครือข่ายเป็นช่องทางหลัก

 

 

 

 

 



หมอลํากลอน เป็น การแสดงพื้นบ้านของชาวอีสาน โดยมีหมอลําเป็นผู้ขับร้องกลอนลํา และมีแคนเป็นเครื่องดนตรี ประกอบ เป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปะการแสดงที่มีคุณค่าและผูกพันกับวิถีชีวิต ของชาวอีสานมาอย่างยาวนาน อาจกล่าวได้ว่าชาวอีสานที่มีอายุราว 60 ปี จะมีความผูกพันและความทรงจําร่วมที่เกี่ยวข้องกับหมอลํากลอน ทั้งในฐานะมหรสพสมโภชในประเพณี พิธีกรรม เทศกาลงานบุญ การถ่ายทอดวรรณกรรม ตํานาน และคติความเชื่อท้องถิ่น ตลอดจนกระบวนการขัดเกลาทางสังคมในกลอนลํา บทขับร้อง บทเจรจา

 

 

 

 

 



การบันทึกเทปในครั้งนี้  ได้ใช้กลยุทธ์ “ชวนปู่ ย่า ตา ยายดูหมอลํากลอนเพื่อต้านภัยโควิด-19” โดยเน้นการเผยแพร่สื่อพื้นบ้านไปยังบุคคลที่มีผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวเพื่อสื่อสารไปสู่ผู้สูงอายุ  ควบคู่ไปกับการผลิตเนื้อหาเพิ่มเติม ติดตามโต้ตอบกับผู้ชมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ชมสื่อพื้นบ้านที่มีต่อแนวทาง การปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตในภาวะวิกฤตโควิด-19 เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทาง ในการการปรับตัว เพื่อเผชิญกับภาวะวิกฤตโควิด-19 ในระยะต่อไป

 

 

 

 

 

28 พฤษภาคม 2563

ผู้ชม 966 ครั้ง

Engine by shopup.com