19 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.พะเยา จัดกิจกรรมงานนิทรรศการ นำเสนอภาพอนาคตและรับฟังความคิดเห็น โครงการ Social Foresight พร้อมกิจกรรมเสวนาอนาคตเมืองพะเยา 2030 “The Future of Living in Phayao 2030”

ม.พะเยา จัดกิจกรรมงานนิทรรศการ นำเสนอภาพอนาคตและรับฟังความคิดเห็น โครงการ Social Foresight พร้อมกิจกรรมเสวนาอนาคตเมืองพะเยา 2030 “The Future of Living in Phayao 2030”

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยพะเยา โดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute - IFI) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม งานนิทรรศการ นำเสนอภาพอนาคตและรับฟังความคิดเห็น โครงการ Social Foresight ณ Tops Plaza Phayao ในการนี้ได้รับเกียรติกล่าวเปิดกิจกรรมโดย ดร.ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้จัดการกลยุทธ์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ผศ.ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา ภายในกิจกรรมประกอบไปด้วย กิจกรรมเสวนา ในหัวข้อ “ร่วมมองภาพอนาคตการใช้ชีวิตในพื้นที่จังหวัดพะเยา 2030” การแสดงนิทรรศการภาพอนาคตจังหวัดพะเยา และการมอบรางวัลให้กับเยาวชนผู้ที่ได้รับรางวัล ทั้งการประกวดภาพวาด การประกวดเขียนเรียงความ และการประกวดคลิปวิดีทัศน์ “ภาพอนาคตของพะเยาที่ฉันอยากเห็น”

 

 

 

 

 

 

 

 



ดร.ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้จัดการกลยุทธ์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “การมองอนาคต เป็นเครื่องมือในการบ่งชี้สัญญาณความเปลี่ยนแปลง รวมถึงประเมินประเด็นความไม่แน่นอน (Uncertainties) เพื่อรับรู้และคาดการณ์ภาพความเปลี่ยนแปลงในอนาคตและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการกำหนดทิศทาง (Direction Setting) ในการวางแผนยุทธศาสตร์ กำหนดทางเลือกและ การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โครงการศึกษาภาพอนาคตแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม (Social Foresight) จึงมีเป้าหมายในการนำเครื่องมือการมองอนาคตมาใช้ในการออกแบบภาพอนาคตเชิงพื้นที่ในกรอบระยะเวลา 10 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพื้นที่ในการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ และนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่อย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับจังหวัดพะเยา เพื่ออนาคตจะเป็นภาคีเครือข่ายสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงจังหวัดพะเยาไปในทิศทางที่ดีร่วมกัน”

 

 

 

 

 

 



ผศ.ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า “กิจกรรมในวันนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาและระบุปัจจัย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำคัญ (Mega trend) ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการเสวนาในวันนี้ เราได้เชิญตัวแทนผู้นำทางสังคมมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นอนาคตของเมืองพะเยาในมิติต่าง ๆ อาทิ สังคม (Social) เทคโนโลยี (Technology) เศรษฐกิจ (Economics) สิ่งแวดล้อม (Environment) และนโยบายภาครัฐ (Political) รวมถึงสะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่และวิถีชีวิต เพื่อให้จังหวัดพะเยานำไปสู่ ภาพฉากทัศน์ คือ กินดีอยู่ดีวิถีพะเยา” ทั้งนี้จังหวัดพะเยาและมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่นำร่องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย เพื่อศึกษาและจัดทำภาพอนาคตแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม (Social Foresight) ของจังหวัดพะเยา ในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับภาพอนาคต เพื่อสร้างความตระหนักกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

20 ตุลาคม 2563

ผู้ชม 551 ครั้ง

Engine by shopup.com